แบบจำลองสมการโครงสร้างของอิทธิพลการจัดการทรัพยากรบุคคลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
A Structural Equation Model of Human Resource Management Influences on Employee Performances

เกศกุฎา โกฏิกุล
คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

รองศาสตราจารย์ ดร.พอพันธ์ วัชจิตพันธ์
คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Ketkuda Kotikul
Faculty of Logistics, Burapha University

Associate Prefessor Porpan Vachajitpan (Ph.D.)
Faculty of Logistics, Burapha University



บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้างของอิทธิพลการจัดการทรัพยากรบุคคลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัว ได้แก่ การจัดการบุคลากรสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลากร การจัดการค่าตอบแทนและรางวัล ความจงรักภักดี การแบ่งปันความรู้ และผลการปฏิบัติงานของบุคลากร การวิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากบุคลากรระดับผู้บริหารและบุคลากรทั่วไปจำนวน 220 ราย จากบริษัทในภาคธุรกิจต่างๆ โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการตรวจสอบพบว่ามีความสอดคล้องและความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า 2 = 440.06, df=412, P = 0.163, 2 /df=1.06, RMSEA=0.018, RMR=0.031, CFI=1.00, GFI=0.89 และ AGFI=0.86 และตัวแปรในสมการโครงสร้างสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลปฏิบัติงานของบุคลากรได้ร้อยละ 54 ผลการวิจัยชี้ว่า ความจงรักภักดีมีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากร รองลงมา ได้แก่ การแบ่งปันความรู้ ส่วนการจัดการบุคลากรสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลากรและการจัดการค่าตอบแทนและรางวัลมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยผ่านความจงรักภักดีและการแบ่งปันความรู้ ข้อเสนอแนะของการวิจัย สำหรับผู้บริหารหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลคือการพัฒนากลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับความจงรักภักดีและการแบ่งปันความรู้ นอกเหนือจากพื้นฐานการจัดการทรัพยากรบุคลที่ขาดไม่ได้ เพื่อการเพิ่มผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่สูงขึ้น

          คำสำคัญ : การจัดการทรัพยากรบุคล, การแบ่งปันความรู้, ความจงรักภักดี, ผลการปฏิบัติงานของบุคลากร, แบบจำลองสมการโครงสร้าง


Abstract

           The objective of this research is to study the causal relationship of human resource management and influences on employee performances. The six latent variables are employee relationship management, employee development, employee compensation, employee loyalty, knowledge sharing and employee performance. Empirical data were obtained from a sample of 220 manager and non-manager employees from different companies in various business sectors. Data form questionnaire were analyzed by using the LISREL software. Results indicate a good fitting of model and empirical data. (2 = 440.06, df=412, P = 0.163, 2 /df=1.06, RMSEA=0.018, RMR=0.031, CFI=1.00, GFI=0.89 and AGFI=0.86). Variables in the model account for 54 percent of the variance of employee performance. Moreover, results also indicate that employee performance is influenced most strongly by employee loyalty and knowledge sharing. In addition, employee relationship management, employee development and employee compensation and reward have indirect influences on employee performance through employee loyalty and knowledge sharing. The research provides suggestions to executives or human resources department to develop strategies which focus on loyalty and knowledge sharing in addition to important fundamental human resource management to increase employee performances.

          Keywords: Human resource management, Knowledge sharing, Employee loyalty, Employee performances, Structural equation model

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail : ketkuda_k@hotmail.com