มาตรการทางจริยธรรมในการขอรับและการให้ความยินยอมจากผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยในการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
Ethical Protocol for Obtaining and Giving Consent from Research Participants in Social and Behavioral Science Research

ศาสตราจารย์ (พิศิษฐ์) ดร.จำเนียร จวงตระกูล
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตระกูล จิตวัฒนากร
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
รองศาสตราจารย์ ดร.วอนชนก ไชยสุนทร
คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ลือกิตตินันท์
คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยลัยบูรพา


Jamnean Joungtrakul, DBA., Ph.D.
Board of Trustees, Kalasin University

Assistant Professor Trakul Chitwattanakorn, Ph.D.
Faculty of Liberal Arts, North Bangkok University

Associate Professor Wornchanok Chaiyasoonthorn, Ph.D.
King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang Business School

Assistant Professor Wannapa Luekitinan, Ph.D.
Faculty of Management and Tourism, Burapha Business School



บทคัดย่อ
          ในอดีตข้อกำหนดด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเฉพาะในงานวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ยังไม่ได้มีข้อกำหนดและมาตรฐานการวิจัยอย่างชัดเจน แต่ปัจจุบันได้มีข้อกำหนดด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ให้กับงานวิจัยทุกศาสตร์ โดยนักวิจัยต้องขอรับการพิจารณาจริยธรรมเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงมาตรการการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย โดยต้องมีการขอรับและให้ความยินยอมจากผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย ทั้งนี้นักวิจัยรุ่นใหม่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ อาจยังไม่คำนึงถึงประเด็นนี้เท่าที่ควร บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการ ขั้นตอน ปัญหาและความท้าทาย รวมถึงแนวปฏิบัติในการขอรับและการให้ความยินยอมจากผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าสำหรับโครงการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพที่ในขั้นตอนการวิจัยต้องมีความใกล้ชิดกับกลุ่มตัวอย่าง จำเป็นต้องมีการขอรับและการให้ความยินยอมจากผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหลักการในการขอรับและให้ความยินยอมจากผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยมีพื้นฐานมาจากประมวลข้อกำหนดนูเรมเบอร์ก ค.ศ.1947 รายงานเบลล์มอนท์ ค.ศ.1979 และปฏิญญาแห่งนครเฮลซิงกิ ค.ศ.1964 โดยขั้นตอนการขอและให้การยินยอมประกอบด้วย 3 ระยะ คือ (1) ช่วงเตรียมการ (2) ช่วงการให้ข้อมูล และ (3) ช่วงดำเนินการ ในส่วนปัญหาและความท้าทายในการขอรับและให้ความยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย ได้แก่ การวิจัยกับกลุ่มเปราะบาง การลดหย่อนผ่อนปรนการขอรับและให้การยินยอม การสื่อสาร การนำเทคโนโลยีมาใช้ การประสานงานกับคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยของสถาบัน และการตรวจสอบประเด็นด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนักวิจัยและผู้ร่วมโครงการวิจัยแล้ว ในกระบวนการวิจัยยังมีผู้เกี่ยวข้องอีกหลากหลายกลุ่ม ซึ่งในบทความนี้ได้สรุปแนวทางการปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยสำหรับผู้เกี่ยวข้องในแต่ละกลุ่ม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัดต่อไป

          คำสำคัญ : การขอรับความยินยอม, การวิจัยสังคมศาสตร์, การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์


Abstract

           Previously, ethical principles on research related to the human subject have been practiced and applied strictly by researchers in medical and other related science areas. At the same time, while medical and related sciences researchers have precisely exercised research ethics, no specific rules and regulations and standards for ethical issues related to the human subject have been established for social and behavioral sciences research. However, at present, rules, regulations, and standards for ethical requirements in conducting research related to the human subject in social and behavioral sciences have been specifically and prescribed. It is now required that all research proposals in all areas be submitted to the institutional ethical committee for consideration and approval prior to implementing such research projects. This requirement clearly indicated that protection measures are established to protect any adverse effects or harms that might occur to research participants. Obtaining and granting consent from research participants is a mandatory provision in conducting social and behavioral sciences research. Since the rules and regulations and ethical standards for social and behavioral sciences research were recently made compulsory, it is possible that many novice researchers and other groups of people involved in conducting social and behavioral sciences research may not have sufficient knowledge and awareness of these new requirements. Thus, the primary objectives of this academic article are to present principles, processes, problems, and challenges, including guidelines in obtaining and granting consent from research participants in social and behavioral sciences research projects. It is now required that all social and behavioral sciences research applying either qualitative or quantitative research strategies that require researchers to work closely with participants in conducting their research must obtain consent from all research participants. This is because the data to be accepted for the research project is mainly the private and personal information of participants. The principles for obtaining and granting consent from research participants are rooted in the Nuremberg Code of 1947, the Belmont Report of 1979, and the Declaration of Helsinki of 1964. The process of obtaining and granting consent can be divided into 3 phases as follows: (1) preparation phase; (2) information providing phase; and (3) action phase. Some problems and challenges in obtaining and granting consent from research participants include research in vulnerable groups, waiving and granting consent, communication among involved persons, applying technology in obtaining and granting consent, coordination with the institutional ethical committee, and reviewing related legal issues. In addition to the researchers and research participants, there are several groups of people involved in conducting the research project, and various guidelines for handling ethical issues for each group have been presented in this article. This is to help further promote the application and strict compliance with ethical standards in conducting social and behavioral sciences research in the Thai research community.

          Keywords: Informed Consent; Social Science Research; Behavioral Science Research

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      professordrjj@gmail.com