การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับบุคลากร อุตสาหกรรมเซรามิกในประเทศไทย
DEVELOPMENT OF A KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL FOR PERSONNEL OF CERAMIC INDUSTRIES, THAILAND

ภาณุทัต จิรานนท์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษณพร คำดี
คณะการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์

Phanuthat Chirananda , Assistant Professor Laksanaporn Kamdee, Ph.D.
Management for Development Program, Rajabhat Rajanagarindra University



บทคัดย่อ
          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ปัจจัยที่มีความสำคัญในการจัดการความรู้ 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ โดยวิธีการวิจัยผสมผสาน เชิงปริมาณควบคู่กับเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณ คือบุคลากรผู้ผลิตเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก จำนวน 371 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย กลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า
          1) สภาพปัจจุบันด้านการจัดการความรู้ของอุตสาหกรรมเซรามิกในประเทศไทยส่วนใหญ่มีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยการฝึกอบรม การแก้ไขปัญหาตามหลัก PDCA การระดมสมอง และการจัดเก็บเอกสารให้สอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ด้านปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหาร นโยบายการจัดการความรู้ไม่ชัดเจน การมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพบุคลากรเฉพาะกลุ่ม
          2) รูปแบบการจัดการความรู้ที่จะทำให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหรือ 4C Model ได้แก่ สร้าง–เก็บ–ใช้– แชร์ และปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการจัดการความรู้มี 5 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายและกลยุทธ์ และองค์กรแห่งความสุข
          3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ พบว่า มีความเหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน ง่ายต่อการนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี
          4) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรเป็นต้นแบบในการจัดการความรู้ในองค์กร กำหนดผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ที่ชัดเจน และจัดให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการความรู้กับบุคลากรทุกระดับ สิ่งนี้จะช่วยให้การจัดการความรู้ในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การจัดการความรู้, อุตสาหกรรมเซรามิก, ประเทศไทย


Abstract

           The purpose of this research aimed to 1) examine current situation, problem, and important factors of knowledge management 2) develop a knowledge management model and 3) evaluate a knowledge management model for personnel of ceramic industries, Thailand. The study was mixed-method research of quantitative and qualitative approaches. The data were collected from 3 groups of respondents. The first group consisted of 371 sanitaryware production personnel who were randomly selected for quantitative data, whereas the second group contained 20 purposive samples. The third group comprised 12 experts. The instruments employed in this study were questionnaire, semi-structured interview, and appropriate assessment form of knowledge management model. The results of this study were as follows:
           1) At present the ceramic industries of Thailand have conducted knowledge management by dissemination of knowledge via training, problem solving as PDCA cycle, brainstorming, searching from various sources and documenting to align with ISO9001. The problems and threats of knowledge management implementation were lack of support from management, unclear knowledge management policy, focused skills development on some particular groups.
           2) The knowledge management model for personnel of ceramic industries, Thailand for the success of knowledge management were consisted of 4 main components (4C Model): Create–Collect–Carry Out–Communicate. The important factors of knowledge management were consisted of 5 main factors: leadership, organizational culture, information technology, policy and strategy and happy workplace.
           3)The evaluation of the developed knowledge management model was appropriate, concise, and useful for organizations, aligned with the operation and practicality in organizations for applying in organizations of ceramic industries, Thailand.
           4) The researcher suggested that the executives or top management should be a role model in KM implementation in organizations, set the clear KM representative in the organizations and educate knowledge management principle at all levels. These were the important things to make KM Model more effective.

          Keywords: development of knowledge management model, ceramic industries, Thailand

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      phanuthat.chirananda@gmail.com