กระบวนการสะสมทุนเศรษฐกิจของครัวเรือนที่มีการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศจากรุ่นสู่รุ่น
The process of economic capital accumulation of migrant workers’ household from generation to generation

ภคนันท์ อังกาบ
นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยประชากรและสังคม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง
อาจารย์ที่ปรึกษาหลักวิทยานิพนธ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Pakkanan Angkab
Master of Arts in Population and Social Research Institute for Population and Social Research, Mahidol University

Associate Professor Sureeporn Punpuing, Ph.D.
Thesis advisor, Institute for Population and Social Research, Mahidol University



บทคัดย่อ
          การส่งเงินกลับของแรงงานย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศถือเป็นผลประโยชน์ทางตรงที่มีความสำคัญต่อครัวเรือนในถิ่นต้นทาง ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการสะสมทุนเศรษฐกิจถึงการวางแผน รวมถึงวิธีการจัดการกับเงินส่งกลับผ่านประสบการณ์ของครัวเรือนที่มีสมาชิกในครัวเรือนย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศจากรุ่นสู่รุ่น ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล 33 คน ที่เคยย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ อาศัยในครัวเรือน ที่มีสมาชิกในครัวเรือน 2 รุ่นหรือมากกว่า ที่มีประสบการณ์ย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ ในจังหวัดหนองคาย ระหว่าง มกราคม - มีนาคม 2563 จากวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า การย้ายถิ่นของสมาชิกในครัวเรือนรุ่นแรกที่ไม่สามารถสะสมทุนเศรษฐกิจได้ เป็นผลมาจากในอดีตมีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินจำนวนมาก เงินส่งกลับจึงนำมาใช้หนี้จนหมดทำให้ไม่สามารถวางแผนนำไปลงทุนเพิ่มได้ แต่การย้ายถิ่นของสมาชิกในครัวเรือนรุ่นปัจจุบันมีรายได้และมีทางเลือกอาชีพมากกว่า ทำให้ปัจจุบันครัวเรือนสามารถสะสมทุนเศรษฐกิจได้มากขึ้น โดยมีแรงงานที่เคยย้ายถิ่นในครัวเรือนต้นทางเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารเงินส่งกลับ มีการนำเงินส่งกลับมาแปรเป็นทุน ด้วยการนำมาลงทุนให้เกิดอาชีพและรายได้ให้กับสมาชิกในครัวเรือน อย่างไรก็ดี ยังมีบางครัวเรือนที่ไม่สามารถพูดคุย สื่อสาร หรือวางแผนการนำเงินส่งกลับ มาแปลงเป็นการสะสมทุนได้ ดังนั้นเพื่อให้มีการจัดการกับการสะสมทุนเศรษฐกิจจากเงินส่งกลับนี้ให้มีประสิทธิภาพ จึงควรสนับสนุนให้มีการให้ความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะอาชีพทางเลือกในการสร้างอาชีพด้านการเกษตร โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตเพื่อเป็นแนวทางให้ครัวเรือนได้ความรู้และนำไปปรับใช้ให้เกิดการสะสมทุนเศรษฐกิจได้มากขึ้น

          คำสำคัญ : กระบวนการสะสมทุนเศรษฐกิจ, การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ, แรงงาน, เงินส่งกลับ


Abstract

           Remittances are considered as direct benefits for the family of migrant workers in home country. This research aims to investigate the process of capital accumulation, planning, as well as how such migrant workers manage to send remittances home through a lenses of families whose members go to work abroad from generation to generation. Qualitative approach was adopted in this research and in-depth interviews were used to collect data from 33 households, which each household has 2 or more generations of migrant workers, in Nong Khai province. Data collection were carried out from January to March 2020, which content data analysis method was employed. The results revealed that first-generation migrant workers who were not able to accumulate economic capital experienced due to high migration costs. As a result, the families were in a large amount of debt. Remittances were used to pay off loans only. It was impossible for them to plan for any investment. The process of economic capital accumulation is often managed by the first generation workers, who decide together with the migrant workers on how to use remittances to create jobs and income for the family. However there are some families that could not communicate or plan for a transformation of remittance to economic capital accumulations. Therefore, great supports should be implemented to increase agriculture alternative jobs’ skill development, and particularly use of technology during the agriculture’s production process. This will provide knowledge and guidelines for an increasing efficient economic capital accumulations.

          Keywords: economic capital accumulation, migration, workers, remittances

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail :      pakkanan.ang@gmail.com