20 ปี ของงานที่มีคุณค่า และการอภิบาลแรงงานในห่วงโซ่อุปทานโลก
20 Years of Decent Work and Labour Governance in Global Supply Chains

กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์
นักวิชาการอิสระ
16 ซอยเพชรเกษม 76 ถนนเพชรเกษม แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160

Kritsada Theerakosonphong
Independent scholar
16 Soi Phet Kasem 76, Bang Khae Nuea, Bang Khae, Bangkok, Thailand


บทคัดย่อ
          จากปี ค.ศ. 1999-2019 งานที่มีคุณค่ามีความคลุมเครือต่อการตีความของหกข้ออภิปราย คือ การบูรณาการของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์สู่นโยบายใหม่ การปฏิบัติการงานที่มีคุณค่าในระดับประเทศ งานที่มีคุณค่ากลายเป็นเป้าหมายระดับโลก การแสดงบทบาทของผู้อำนวยการใหญ่ การครองอำนาจนำขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และการกำหนดตัวชี้วัดและการวัดผล ถัดมางานที่มีคุณค่ายังถูกพัฒนาเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของ ILO และนำไปสู่การยกระดับทางสังคมในห่วงโซ่อุปทานโลก โดยแนวทางนี้ถูกเรียกว่าการอภิบาลแรงงานโลก ประกอบด้วย การอภิบาลสาธารณะ บรรษัทอภิบาล และการอภิบาลสังคม ยิ่งกว่านี้การอภิบาลไม่จำกัดเฉพาะการใช้มาตรฐานแรงงาน แต่ยังขยายมาสู่บทบาทของความร่วมมือเฉพาะทาง ขณะที่แผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่ากลับประสบปัญหาบางประการ เพราะขาดการมีส่วนร่วมของรัฐสมาชิกและเป็นเครื่องมือที่ไม่มีสภาพบังคับ

          คำสำคัญ : งานที่มีคุณค่า การอภิบาลแรงงานโลก ห่วงโซ่อุปทานโลก การยกระดับทางสังคม องค์การแรงงานระหว่างประเทศ, แผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่า


Abstract

           From 1999 to 2019, An ambiguity of decent work to the interpretation of six discussions, which are (a) Integration of four strategic objectives to the new policy. (b) Implementation of decent work at the country level. (c) Decent work becomes to global goals. (d) Role of the director-general. (e) Hegemony of the International Labour Organization (ILO). (f) Formulation of indicators and measurement. After that, decent work is developed to a new paradigm of the ILO and lead to social upgrading in global supply chains. This perspective is called ‘global labour governance’, including public governance, private governance, and social governance. Furthermore, the governance not limited to labour standards but expand the role of technical cooperation. Meanwhile, the Decent Work Country Programme (DWCP) is faced by some problems because member states lack of participation and non- binding instrument.

          Keywords: Decent Work, Global Labour Governance, Global Supply Chains, Social Upgrading, International Labour Organization, Decent Work Country Programme

-----------------------------------------

บทความนี้ ตั้งใจเขียนในโอกาสพิเศษของการครบรอบ 20 ปี ของงานที่มีคุณค่า และ 100 ปี องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
Corresponding Author E-mail : Kritsadathe@outlook.com