ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ความพึงพอใจในการทำงาน กับผลการปฏิบัติงานโดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรกำกับ
The relationship between psychological capital, job satisfaction and performance: The moderating effect of organizational commitment

อรรถยา ยศประสิทธิ์
นักศึกษาปริญญาโท สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Athaya Yosprasit
Master Student, Industrial and Organizational Psychology, Faculty of Liberal Arts, Thammasat University

รองศาสตราจารย์ ดร. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Associate Professor Sompoch Iamsupasit (Ph.D.)
Thesis advisor, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University


บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ความพึงพอใจในการทำงาน กับผลการปฏิบัติงาน โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานขายเครื่องดื่มของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทุนทางจิตวิทยามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .955 แบบสอบถามความพึงพอใจในการทำงานมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .912 แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .899 และผลการปฏิบัติงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation coefficient: PPMCC) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น (Hierarchical multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า ทุนทางจิตวิทยา และความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .372, r = .620) ความผูกพันต่อองค์การไม่เป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยากับผลการปฏิบัติงาน แต่เป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (β = .148, ∆R2 = .024)

          คำสำคัญ : ทุนทางจิตวิทยา, ความพึงพอใจในการทำงาน, ผลการปฏิบัติงาน, ความผูกพันต่อองค์การ


Abstract

           The relationship between psychological capital, job satisfaction, and performance was studied, with organizational commitment as moderator. Samples were 142 sales officers in a food and beverage company in the Bangkok Metropolitan Area (BMA). Data was collected by questionnaires. Personal factors, psychological capital with Cronbach’s Alpha at .955, job satisfaction with Cronbach’s Alpha at .912, organizational commitment with Cronbach’s Alpha at .899 were measured, and official yearly performance appraised. Data was analyzed by Pearson product-moment correlation coefficient (PPMCC) and hierarchical multiple regression. Results were that psychological capital and job satisfaction positively correlated with performance at a .01 level (r = .372, r = .620). Organizational commitment moderated the relationship between job satisfaction and performance (β = .148, ∆R2 = .024) but did not between psychological capital and performance.

          Keywords: psychological capital, job satisfaction, performance, organizational commitment

-----------------------------------------

Corresponding Author E-mail : tongathaya@gmail.com