การศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ผ่านตัวแปรสื่อการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ โดยมีความต้องการส่วนบุคคลเป็นตัวแปรกำกับ

Relationships Between Perceived Organizational Justice and Organizational Citizenship Behavior: The Mediating Role of Perceived Organizational Support and The Moderating Role of Individual Needs

หทัยทิพย์ อภิวงค์งาม
นักทรัพยากรบุคคล กรมคุมประพฤติ
อาจารย์ ดร.รัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม
อาจารย์ที่ปรึกษาหลักวิทยานิพนธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Hathaithip Aphiwongngam
Human Resources Officer, Department of Probation
Ratchaneewan Wanichtanom (Ph.D.)
Faculty of Liberal Arts, Thammasat University


บทคัดย่อ
           การศึกษาเรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ผ่านตัวแปรสื่อการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ โดยมีความต้องการส่วนบุคคล เป็นตัวแปรกำกับ” เป็นการศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 2) ศึกษาการเป็นตัวแปรสื่อของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ความยุติธรรมในองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 3) ศึกษาการเป็นตัวแปรกำกับของความต้องการส่วนบุคคล ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน (ยกเว้นข้าราชการระดับบริหาร อำนวยการ และเชี่ยวชาญ) ในหน่วยราชการแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ 1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล 2) แบบวัดการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ 3) แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ 4) แบบสอบถามความต้องการส่วนบุคคล 5) แบบสอบวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

           สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงชั้น

           ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การเป็น ตัวแปรสื่อสมบูรณ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ส่วนความต้องการส่วนบุคคลไม่เป็นตัวแปรกำกับระหว่างความสัมพันธ์นี้ ซึ่งหน่วยงานราชการสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในข้าราชการปฏิบัติงาน และสามารถใช้เป็นแนวทางในการวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

          คำสำคัญ : การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ, การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ความต้องการส่วนบุคคล, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ


Abstract

            This study was entitled “Relationships between Perceived Organizational Justice and Organizational Citizenship Behavior: The Mediating Role of Perceived Organizational Support and The Moderating Role of Individual Needs”. The study was conducted as a correlation research. The objectives of the study were as follows 1) to study the relationship of Perceived Organizational Justice, Perceived Organizational Support, Individual Needs, and Organizational Citizenship Behavior, 2) to study the mediating role of Perceived Organizational Support on the relationships of Perceived Organizational Justice and Organizational Citizenship Behavior, and 3) to study the moderating role of Individual Needs on the relationship of Perceived Organizational Support and Organizational Citizenship Behavior.

            The subjects were 301 government officers (except executives, directors, and specialists) at a government organization in Thailand. The questionnaires were used as a research instrument. The questionnaires were divided into 5 parts; 1) 6 items of Personal Factors, 2) 42 items measuring Perceived Organizational Justice, 3) 25 items measuring Perceived Organizational Support, 4) 13 items of Individual Needs, and 5) 21 items measuring Organizational Citizenship Behavior.

            The statistical measures comprised of Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Correlation, and Multiple Regression Analysis.

            The results of this research had shown that Organizational Citizenship Behavior had positive correlations with Perceived Organizational Justice, Perceived Organizational Support, and Individual Needs. Thus, other organizations could employ the results to develop Organizational Citizenship Behavior with their officer and any researcher could apply them for future studies.

          Keywords: Perceived Organizational Justice, Perceived Organizational Support, Individual Needs, Organizational Citizenship Behavior