ปัจจัยกำหนดการตัดสินใจของนักศึกษาปีสุดท้ายใน 7 สาขาวิชาชีพ
ของประเทศไทยไปทำงานประเทศสมาชิกอาเซียนในอนาคต
Determinants of the decisions of the final-year students in 7 professions
of Thailand to work in other countries in ASEAN in the future
รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย  สุขสิริเสรีกุล คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


บทคัดย่อ
          การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดการเคลื่อนย้ายของผู้ประกอบวิชาชีพชาวไทยใน 7 สาขาที่มี MRA ไปสู่ประเทศอาเซียน การสำรวจข้อมูลใช้นักศึกษาปีสุดท้ายในสถาบัน อุดมศึกษารัฐเป็นตัวอย่างจำนวน 142 ราย ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้ที่ตัดสินใจที่จะไปทำงานในประเทศอาเซียนเป็นผู้ที่มีฝีมือแรงงานเฉพาะด้านสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์น้อย เรียนหลายวิชาที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคาดหมายค่าจ้างในประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าจ้างในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการทำงานในประเทศอาเซียนชี้ว่าผู้ที่ต้องการไปทำงานในช่วงเวลาที่สั้นเป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรที่สูง เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจำนวนมาก และคิดว่ากฎระเบียบและสภาพแวดล้อมในประเทศไทยเอื้ออำนวยมากต่อการประกอบการ
          การประมาณการระบุว่าผู้ที่จะไปทำงานในประเทศอาเซียนมีจำนวน 22,833 คน และระยะเวลาการอยู่ทำงานเป็น 6 ปีต่อคน โดยเฉลี่ยในชีวิตการทำงาน ระยะเวลาการอยู่ทำงานรวมกันเป็น 136,998 ปี (ร้อยละ 13 ของระยะเวลาทำงานทั้งหมด) ปัจจัยที่มีนัยสำคัญที่มีต่อจำนวนคนและระยะเวลาของการทำงานในประเทศอาเซียนทำให้ระยะเวลาเพิ่มเป็น 155,896 ปี (ร้อยละ 15) การเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลให้มีการขาดแคลนผู้ประกอบวิชาชีพจำนวน 3,605 - 4,102 คนในแต่ละปีการศึกษา แต่หากผู้ที่ต้องการไปทำงานในประเทศอาเซียนแปรผันไปตามจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพที่ผลิตได้ การผลิตนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 มีการขาดแคลน ร้อยละ 1.1 - 3.1 มูลค่าการสูญเสียเงินอุดหนุนทางการศึกษาเนื่องจากผู้ประกอบวิชาชีพย้ายไปทำงานในประเทศอาเซียนในแต่ละปีเป็น 1,215.8 - 1,383.4 ล้านบาท หรือ 8,874 บาทต่อคนต่อปี ณ ราคาคงที่ของปี 2557
          ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายหลักประการหนึ่งคือ รัฐบาลควรเรียกเก็บเงินอุดหนุนทางการเงินคืนจากผู้ที่ต้องการไปทำงานในประเทศอาเซียนและนำเงินจำนวนนี้ไปให้กับสถาบันอุดมศึกษารัฐเพื่อผลิตผู้ประกอบวิชาชีพทดแทนผู้ที่ย้ายไปทำงานในประเทศอาเซียน มาตรการนี้สามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมไทยได้และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะว่ามูลค่าการเรียกเก็บเงินคืนเป็นเพียงร้อยละ 56 ของส่วนเพิ่มค่าจ้างที่ผู้ประกอบวิชาชีพได้รับในประเทศอาเซียนในหนึ่งเดือนเท่านั้น

           คำสำคัญ : การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะ   ประเทศสมาชิกอาเซียน   ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


Abstract

          The objective of the study is to identify the determinants of the migration of seven highly skilled professions with MRA from Thailand to other countries in ASEAN under the ASEAN Economic Community (AEC). The data were gathered from final year students in public universities with a total of 142 samples. The analysis result indicates that persons who will migrate to the ASEAN countries have good professional skills, weak initiative, learn many subjects about AEC and anticipates a higher rise in the payment in the ASEAN countries than Thailand. Persons who will work for a short period in the ASEAN countries posses high grade point average, learn many subjects about AEC and suppose Thailand’s laws and environments supportive of own businesses.
          It is estimated that 22,833 persons will migrate to the ASEAN countries lasting on average 6 years over one’s working life. The figures add up to 136,998 years (13% of the total working years). The factors affecting the number of migrants and the duration of stay extend the working period to 155,896 years (15%). The liberalization of the profession movement under AEC causes a shortage of highly skilled labor in a range of 3,605 - 4,102 persons each year. If the number of migrants varies with respect to the size of the workers produced, the workers available after the academic year 2015 are inadequate by 1.1% - 1.3%. Financial subsidy to public higher education lost due to the professionals’ migration to the ASEAN countries is valued at 1,215.8 - 1,383.4 million baht each year, being equivalent to 8,874 baht per person per year at the constant price of the year 2014.
          A major policy recommendation is that the government should recoup education financial subsidy to the migrants and transfer the money to public higher education institutions to train more professionals compensating those migrating to the ASEAN countries. Such a measure can enhance the social fairness to the Thai society. It is practically feasible since the amount of money returned is just 56% of extra monthly payment the migrants receiving from working in the ASEAN countries.

           Keywords: movement of high-skilled labor,   ASEAN,   AEC