แนวทางการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย เพื่อรองรับนักศึกษาจากประเทศกลุ่มอาเซียน )
An approach to develop public universities in Thailand to accommodate students from ASEAN countries

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สุขสิริเสรีกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ
          การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัจจัยที่หลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสามารถจูงใจนักศึกษาอาเซียนให้มาศึกษาและสนองตอบความต้องการของนักศึกษาไทย วิธีการศึกษาประกอบด้วย การประมาณการอุปสงค์ต่อหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรปกติในกรณีที่นักศึกษาอาเซียนสามารถใช้ภาษาไทยเรียนได้ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกรายบุคคลแสดงความคิดเห็นและการคาดหมายของนักศึกษา ข้อมูลรวบรวมจากหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรปกติในคณะของสถาบันอุดมศึกษารัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผลการศึกษาระบุประเด็นที่หลักสูตรควรรักษาและสนับสนุนได้แก่ การเปิดใหม่หลักสูตรให้มีความทันสมัยของเนื้อหาวิชาที่สอดรับกับความรู้ทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการ ความหลากหลายของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน ค่าธรรมเนียมการศึกษา สถานที่เรียน วิธีการรับเข้าศึกษา และประเภทของสถาบันอุดมศึกษา นักศึกษาอาเซียนต้องการเรียนหลักสูตรในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องความสะดวกของการอยู่อาศัย และหลักสูตรสามารถตอบสนองการคาดหวังที่จะทำงานในประเทศไทยในอนาคตของนักศึกษาอาเซียนได้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบข้อด้อยของหลักสูตรที่ควรแก้ไขปรับปรุงและหลีกเลี่ยงในเรื่องโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไปศึกษาบางวิชาในต่างประเทศและกิจกรรมนอกหลักสูตรที่นักศึกษาไม่ต้องการและไม่พึงพอใจ มาตรฐานการสอนอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและการสนับสนุนการเรียนไม่ได้ช่วยเพิ่มความรู้ทักษะในห้องเรียน ประสบการณ์ในทางปฏิบัติที่นักศึกษาได้รับไม่สอดคล้องกับความชื่นชอบและความสนใจของนักศึกษา

           คำสำคัญ : การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของไทย, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา


Abstract

           The study aims at identifying factors by which the international Bachelor's degree programs of public universities can attract ASEAN students and respond to the demand of Thai students. The analysis consists of estimating the demand for the international programs and the regular ones accepting ASEAN students with proficiency in Thai language. An in-depth analysis on individual students elicits their relevant opinions and expectation. The data were gathered from both programs of public universities under the Office of the Higher Education Commission. The result highlights the existing performances to be maintained and promoted for achieving the objectives mentioned. Programs with state-of-art curriculum should be offered and equip the students with skills correspondent to the need in the labor market. The language of instruction, tuition fees, program's location, the admission criteria and university's governing status significantly affect their target attainment. Bangkok is a prime choice of ASEAN students due to the adequate facilities for their convenient living. The programs are up to ASEAN students' expectation of future works in Thailand. By contrast, some program features should be improved and reviewed. Exchange programs to study some subjects overseas and extra-curriculum activities should be well organized in line with students' choices. Low teaching standards must be revised. Necessary supports for learning activities are made available, which will in turn contribute to students' better classroom performance. More appropriate practical experience acquired by students should be compatible with their preferences and interests.

           Keywords: Development of Thai public universities, AEC