รูปแบบคุณลักษณะตามสาขาเน้นและผลกระทบจากการเลือกสาขาของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2556
 Trait profile and impact of specialty selection: A case of 5th year pharmacy students of Mahidol University academic year 2013
ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช ภ.ด.

บทคัดย่อ
          จากการที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ปรับหลักสูตรเป็น 6 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับของสภาเภสัชกรรมและบริบททางวิชาชีพเภสัชกรรมที่วิวัฒน์ไปตามการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของวิทยาการทางเภสัชกรรม หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตปี 2552 เป็นหลักสูตรที่แยกเรียนตามสาขาเน้น 2 สาขา ได้แก่ สาขาผู้ป่วย และสาขาผลิตภัณฑ์ ซึ่งนักศึกษามีสิทธิ์เลือกเรียนตามความสมัครใจ แต่กระบวนการเลือกสาขายังขาดเครื่องมือที่สนับสนุนการเลือกสาขาอย่างเหมาะสม และเพื่อเป็นการติดตามผลกระทบอันเกิดจากการเลือกสาขาไม่ตรงกับความถนัด ทักษะ ความสนใจ หรือคุณลักษณะเด่นของนักศึกษา จึงมีความจำเป็นที่จะสร้างแบบประเมินคุณลักษณะ-ความถนัดของนักศึกษา และติดตามผลกระทบหลังจากเลือกสาขา รวมถึงนำเสนอรูปแบบคุณลักษณะ และ ความถนัดที่เหมาะสมในการเลือกสาขาของนักศึกษาเภสัชศาสตร์รุ่นต่อไป

           ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมินที่เหมาะสมสำหรับการเลือกสาขาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยได้รับแนวคิดจากแบบประเมินของ Glaxo's pathway evaluation program for Pharmacy Professionals และแบบประเมินของ APhA เมื่อติดตามผลการเรียนในชั้นปีที่ 5 ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า นักศึกษาที่เลือกสาขาได้ตรงกับคุณลักษณะ-ความถนัด (Fit) มีผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษา 2556 สูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่เลือกสาขาไม่ตรงกับคุณลักษณะเด่น-ความถนัด (Mis-Fit) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ กลุ่มนักศึกษาที่เลือกสาขาไม่ตรงกับคุณลักษณะเด่น-ความถนัด (Mis fit) ยังมีผลกระทบทางลบมากกว่ากลุ่มนักศึกษาที่เลือกสาขาได้ตรงกับคุณลักษณะ-ความถนัด (Fit) ได้แก่ รู้สึก "เหนื่อย" กว่า รู้สึก "เครียด" กว่า และรู้สึกว่า "สมดุลชีวิตและการเรียน" ได้รับผลกระทบมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) .

           งานวิจัยนี้ได้ค้นพบคุณลักษณะที่จะใช้ในการจำแนกสาขาครั้งต่อไปสำหรับสาขาผู้ป่วย ได้แก่ ด้านการให้คำปรึกษา, ด้านความต่อเนื่องของความสัมพันธ์กับลูกค้า, ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น, ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับวิชาชีพอื่น, ด้านการให้ความรู้ทางเภสัชกรรมแก่วิชาชีพอื่น และด้านมีความกดดันในการทำงาน ส่วนรูปแบบคุณลักษณะของสาขาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ด้านการคิดค้นนวัตกรรม, ด้านการจัดการธุรกิจ, ด้านการมีเวลาว่าง-เวลาครอบครัว และด้านโอกาสความก้าวหน้าทางอาชีพ

           คำสำคัญ : แบบประเมินคุณลักษณะ, แบบประเมินบุคลิกภาพ, สัมฤทธิผลทางการเรียน, ความถนัดทางวิชาชีพเภสัชกรรม, นักศึกษาเภสัชศาสตร์, คุณลักษณะ

Abstract

           According to the transformation of the Curriculum of Faculty of Pharmacy Mahidol University from 5-year program to 6-year Doctor of Pharmacy program in 2009, the pharmacy student in this program have to choose the special fields , i.e. pharmaceutical care and pharmaceutical science at the end of 4th year of their study. In 2010 the first batch of students had to select their special fields unfortunately there was no supporting process to facilitate their selection and follow up the impact of the selection aftermath. Objectives of this research were to create and develop a traits assessment for those students and to follow up the impact of the student who have selected special field which is not suitable with their dominant trait, Mis-Fit, comparing with another group of student, Fit. Additionally the researcher will find out professional trait profile both pharmaceutical care and pharmaceutical science for the next batch of students.

          The research showed that the suitable professional traits profile assessment has been created and developed based on Glaxo's pathway evaluation program for pharmacy professionals and APhA's Career pathway evaluation program for pharmacy profile survey. The learning outcome of each group , Fit and Mis-Fit was followed up prospectively. GPA in 2012 of the Mis-Fit group is significantly lower than the Fit group (p<0.05) simultaneously the perception of "Tiredness" "Stress" and "Negative Impact on their work-study balance" of the Mis-Fit is higher that the Fit group (p<0.05).

           Finally the researcher find out that the dominant professional trait profile for pharmaceutical care field are composed of Counseling, Continuity of relationship with customers, Helping other ,Interaction with other professionals, Educating pharmaceutical knowledge to other, Pressure. For the pharmaceutical science field, dominant professional traits were Innovative thinking, Business management, Leisure and family time, and Career opportunity.

           Keywords: Traits Assessment, Personality Assessment, Learning Outcome, Pharmaceutical Aptitudes, Pharmacy Students, Traits