วารสาร HRintelligence ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2554

  ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  Academic Leadership of the School Principals in North-Eastern Region

  พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ปรางทิพย์ เสยกระโทก

บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของคุณลักษณะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 15 คน แล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ 3 ด้านได้แก่ คุณลักษณะส่วนตัว การพัฒนางานวิชาการ และการพัฒนาบุคลากร เพื่อสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 328 คน จาก 175 โรงเรียน ใน 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 11 จังหวัด โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่าภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การพัฒนาวิชาการที่เน้นการเรียนการสอน (2) พฤติกรรมแบบมุ่งงานวิชาการและความสัมพันธ์ (3) ความคิดริเริ่มและความรู้ความสามารถทางวิชาการ (4) การพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาการ และ (5) การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู

Abstract
            The purpose of this research was to study the characteristic factors of the school principals’ academic leadership. The study was done through documentary analysis, empirical data from 15 successful school principals’ indept interview, and through the questionaires concerning 3 aspects of academic leadership; personal characteristics, academic development and personnel development, rated by 328 school principals and teachers from 175 schools in 5 provinces of the upper North-Eastern region. The study used mixed method analysis of quantitative and qualitative analysis. Data was analyzed by exploratory factor analysis. The results indicated 5 factors of academic leadership of the school principals: (1) academic adevelopment focused on instruction (2) academic behavior oriented on task and relations (3) creativity and academic ability (4) teacher development concerned academic ability (5) promotion for the growth of teachers’ profession.