วารสาร HRintelligence ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2553

  การศึกษาเปรียบเทียบเชาวน์อารมณ์ (EQ) และเชาวน์วิริยะ (AQ) ของบุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาอื่นในการบริหารจัดการ
  Comparison Study of Emotional Quotient (EQ) and Adversity Quotient (AQ) between personnel in organizations Implementing Sufficiency Economy Philosophy and those Implementing Others

  ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์, ทิพย์สุดา เมธีพลกุล, บุรชัย อัศวทวีบุญ

บทคัดย่อ
          การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์อารมณ์ และเชาวน์วิริยะของบุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักปรัชญาอื่นในการบริหารจัดการ กลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มบุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการ จำนวน 210 คน และบุคลากรในองค์การที่ใช้หลักปรัชญาอื่นในการบริหารจัดการ จำนวน 198 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามวัดการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบบสอบถามวัดเชาวน์อารมณ์ และแบบสอบถามวัดเชาวน์วิริยะค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .813, .858 และ .897 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่า t (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
          1. บุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการ มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์การ มากกว่าบุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาอื่นในการบริหารจัดการ
          2. บุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการ มีการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงด้านการมีภูมิคุ้มกัน และความพอเพียงโดยรวมมากกว่าบุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาอื่นในการบริหารจัดการ แต่ไม่พบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มในปัจจัยดานความพอประมาณและความมีเหตุผล
          3. บุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการ มีเชาวน์อารมณ์ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง การจัดระเบียบอารมณ์ของตนเอง การสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ทักษะทางสังคม และเชาวน์อารมณ์โดยรวม สูงกว่าบุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาอื่นในการบริหารจัดการ แต่ไม่พบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มในเชาวน์อารมณ์ด้านการร่วมรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
          4. บุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการ มีเชาวน์วิริยะด้านผลกระทบด้านความอดทน และเชาวน์วิริยะโดยรวม สูงกว่าบุคลากรในองค์กรที่ใช้หลักปรัชญาอื่นในการบริหารจัดการ แต่ไม่พบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มในเชาวน์วิริยะด้านการควบคุมและด้านสาเหตุและความรับผิดชอบ
          5. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเชาวน์อารมณ์โดยรวม และเชาวน์วิริยะโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.556 และ r=.551 ตามลำดับ)
          6. เชาวน์อารมณ์โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับเชาวน์วิริยะโดยรวม (r=.610) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract
            The purposes of this research are to compare the application of the sufficiency economy philosophy to organizations, Emotional Quotient (EQ) and Adversity Quotient (AQ) between personnel who work in sufficiency economy organizations and organizations which are managed by other philosophies. Furthermore, this research will also study how factors such as EQ and AQ relate to the application of the suffciency economy philosophy to organizations. The samples used are 210 personnel who work in sufficiency economy organizations and 198 personnel who work in organizations which are managed by other philosophies. The questionnaires consisted of 4 parts which are Demographic information, Assessment of sufficiency economy philosophy applications, Measurement of Emotional Quotient and Measurement of Adversity Quotient (Reliabilities of these measurements in part 2, 3 and 4 are .813, .858 and .897, respectively). Statistical analysis methods used in this study include frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test analysis and Pearson’s product moment correlation. The results of statistical analysis are as follows:
            1. Personnel who work in the sufficiency economy philosophy organizations apply the concept at individual and organizational levels more than personnel who work in non-sufficiency economy organizations.
            2. Personnel who work in the sufficiency economy philosophy organizations apply the sufficiency economy philosophy to immunity factors and overall sufficiency economy factors more than personnel who work in non-sufficiency economy organizations. However, there were not significant differences between the two groups in the abstinence factor and rational factor.
            3. Personnel who work in the sufficiency economy philosophy organizations had higher level of Emotional Quotient in Self-Awareness, Self-Regulation, Self-Motivation, Social Skills and overrall EQ dimensions than personnel who work in other organizations. On the other hand, there were not significant differences between the two groups in Empathy dimension.
            4. Personnel who work in the sufficiency economy philosophy organizations had higher level of Adversity Quotient in Reach, Endurance and overall AQ dimensions than personnel who work in other organizations. On the other hand, there were not significant differences between the two groups in Control and Origin and Ownership dimensions.
            5. There were positive relationships between overall sufficiency economy concept and overall EQ and AQ at .01 level of statistical significance (r=.556 and r=.551, respectively).
            6. There were positive relationships between overall EQ and overall AQ (r=.610) at .01 level of statistical significance.