วารสาร HRintelligence ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2552

  การฟื้นฟูเด็กและเยาวชนกระทำผิด : การศึกษาในมุมมองการสื่อสารเชิงวัจนภาษา
  Juvenile Delinquents Rehabilitation : the Study in Verbal Communication Perspective

  ยุรนันท์ ตามกาล

บทคัดย่อ
          การศึกษานี้มุ่งไปที่การฟื้นฟูเด็กและเยาวชนกระทำผิด โดยเป็นการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของการสื่อสารเชิงวัจนภาษาเป็นหลักเพื่อพิจารณาถึงลักษณะการสื่อสารที่เป็นตัวคำพูดที่ใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการฟื้นฟู ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยการสำรวจ ที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย บ้านกรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิง 1 แห่ง คือ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปราณี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ จำนวน 287 คน เจ้าหน้าที่ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ จำนวน 48 คน และญาติของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมฯ จำนวน 31 คน
          จากการศึกษาพบว่าลักษณะของวัจนภาษาที่เป็นคำพูดที่เจ้าหน้าที่และญาติใช้พูดกับเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนนั้นมีลักษณะเหมือนกันคือประกอบไปด้วย การพูดเพื่อขอให้เลิกกระทำผิด การพูดปลอบใจให้กำลังใจ การพูดตลกขำขัน การพูดว่ากล่าวตักเตือน และคำพูดดุด่า แต่ลักษณะเนื้อหาในตัวคำพูดแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันระหว่างเจ้าหน้าที่และญาติของเด็ก และพบว่าเด็กและเยาวชนมีความรู้สึกต่อคำพูดที่ได้รับจากบุคคลทั้งสองกลุ่มในด้านที่ดีเหมือนกันแต่เหตุผลแตกต่างกัน

Abstract
            This study focused on juvenile delinquents rehabilitation. It was under the concept of verbal communication (verbal language) for determine “words” that used as a tool in rehabilitation. Data was collected at three training centers for boy; Ban Karuna, Ban Mutita and Ban U-bekkha, and one training for girl; Ban Pranee. Three groups of samples were 287 juvenile delinquents, 48 officers and 31 juvenile delinquents’ s relatives.
            The study found that the types of verbal language that the officers and juvenile delinquents’s relatives had spoken with the youth were the were the same characteristic. There are persuasion to stop redivism, supportive statement, humorous, warning, and rebuking. But the wording content in each type are different. And found that the juvenile delinquents felt good with communication that they received from both groups of people but the reasons are different.