การประเมินระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทย

The Evaluation on Thailand’s Retirement Saving System

ดร. วิทยา ปิ่นทอง
คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ ราชบัณฑิตสภา 
อดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนระดับ ทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จีรเดช ภานุรัตนะ
อดีตผู้อำนวยการเฉพาะด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ระดับสูง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


บทคัดย่อ
          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทยด้านความครอบคลุมประชากร ความเพียงพอของรายได้ และความยั่งยืนทางการคลัง

          การศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายปีในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2540 – 2559 ประกอบด้วย จำนวนประชากรวัยแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในระบบประกันสังคม รายงานสถานการณ์ด้านการคลัง การออมและการลงทุน โดยการศึกษาครอบคลุมประชากรวัยแรงงานทั้งในและนอกระบบ ความเพียงพอของรายได้ต่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐานภายหลังเกษียณอายุ และความยั่งยืนทางการคลังของประเทศในอนาคต มีการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์อนุกรมเวลา และสมการถดถอยอย่างง่าย

          ผลการศึกษาพบว่าการประเมินระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทย ด้านครอบคลุมมีความครอบคลุมประชากรวัยแรงงานในระบบทั้งหมด ยกเว้นแรงงานนอกระบบบางส่วนและแรงงานที่ไม่อยู่ในตลาด แต่มีปัญหาด้านความเพียงพอของรายได้ที่ประชากรบางกลุ่มซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้ภายหลังเกษียณอายุอัตราร้อยละ 19 ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน และจะมีปัญหาความไม่ยั่งยืนทางด้านการคลังเนื่องจากเป็นภาระต่องบประมาณที่เพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 นอกจากนี้ การที่ประชากรเข้าสู่ผู้สูงวัยมากขึ้นแล้วย่อมมีผลกระทบต่องบลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศ และระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปัญหาการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในอนาคต


           คำสำคัญ : การประเมินระบบการออม การออมเพื่อการเกษียณอายุ ความครอบคลุมประชากรวัย
            แรงงาน ความเพียงพอของรายได้หลังเกษียณอายุ และความยั่งยืนทางการคลัง


Abstract

          This study aims to evaluate Thailand’s retirement saving systems on three dimensions, namely, the coverage of population, the adequacy of their income after retirement, and fiscal sustainability.

          The study uses secondary data such as time series data during the years 1997 - 2016 consisting the working age population, Gross Domestic Product, old aged allowance in social security system, fiscal report data, investment and saving data. Accordingly, the study covered the population of working age for both formal and informal sectors, the adequacy of their income for basic living after retirement, and the fiscal sustainability of the country in the future. The data were analyzed in descriptive and quantitative methods using descriptive statistics, time series analysis, and simple regression equations.

          The evaluation on Thailand’s retirements saving system shows that the system covers most part of the working population, but low participation is among informal workers and working-age people who are not currently in the labor force. For the adequacy rate 19%, most Thai people are at risk to have inadequate income to afford to meet basic needs after retirement.  The unsustainable fiscal burden on the government budget had increased an average rate 10% every year due to the increase in elderly population, thus affected the investment budget for national development and the economic system, including the preparation of balanced budgets in the future.



           Keywords: The Evaluation on Retirement Saving System, the Coverage of the Working
                Age Population, the Adequacy of Retirement Income, and the Fiscal Sustainability