สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ

Competency of Thai Teacher in 21st Century : Wind of Change

ฉัตรชัย  หวังมีจงมี
นักศึกษาปริญญาเอก การวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์  
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
 
รองศาสตราจารย์ ดร.องอาจ  นัยพัฒน์
อาจารย์ประจำภาควิชาวัดและประเมินผล
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน 2.เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะของครูผู้สอนระดับการศึกษา        ขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ผู้วิจัยใช้แนวทางการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 รวม 6 คน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นตรงกันว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานบางคน ยังไม่สามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์แบบอุปนัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ปัญหาของครูผู้สอนในปัจจุบัน มี 2 ประการ คือ 1.ครูยังคงใช้รูปแบบการสอนแบบดั้งเดิม และ 2.ครูผู้สอนขาดจิตวิญญาณในความเป็นครู สำหรับสมรรถนะของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 มี 7 สมรรถนะ คือ 1.สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 2.สมรรถนะด้านการวัดประเมินผลเพื่อการพัฒนาและคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายระหว่างบุคคล 3.สมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี และการรู้เท่าทันสื่อ 4.สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ 5.สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 6.สมรรถนะด้านการข้ามวัฒนธรรม 7.สมรรถนะด้านการเป็นผู้อำนวยความสะดวกและแนะแนวทาง ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปใช้ในการวางแผนการผลิตและพัฒนาครูผู้สอนเพื่อให้ครูผู้สอนมีสมรรถนะที่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 ต่อไป


           คำสำคัญ : สมรรถนะของครู, ศตวรรษที่ 21, ปรับเปลี่ยนสมรรถนะ


Abstract

          The objectives of the research were (1) to study the problems of basic education teachers and
(2) to study and understand of teachers’ competencies in the 21st century. The methodology of the research was qualitative research using in-depth interview of six experts on the teachers’ competency in the 21st century. Those six experts stated that the world society has been dramatically changed but at present some of the teachers still cannot keep up with the times. The findings obtained from qualitative analysis are as follows: (1) Regarding styles in teaching, the teacher use traditional teaching style are still dominant in actual classroom practice. And (2)Teachers lack teaching spirit. From the interview with experts, it was found that the teachers’ competencies at the basic education in the 21st century are (1) student-centred teaching competency, (2) formative evaluation taking into individual learner difference competency (assessment and evaluation taking into account individual learner difference), (3) computing and ICT literacy competency, (4) morality and professional ethics competency, (5) teamwork and professional learning community competency, (6) cross cultural awareness competency, and (7) coaching and facilitating competency. The results have implications for administrators and stakeholders to create necessary teacher training and development to prepare them to be teachers of 21st century.



           Keywords: teacher competency,  21st century,  changing competency