ปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ องค์การแห่งการเรียนรู้ และความยึดมั่นผูกพันในงาน
Personal Factors, Leadership, Learning Organization and Work Engagement

สิริลักษณ์  ชมสำเนียง
นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล
สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำ องค์การแห่งการเรียนรู้และความยึดมั่นผูกพันในงานของผู้บริหารระดับกลางของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ศึกษาเปรียบเทียบความยึดมั่นผูกพันในงานตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ องค์การแห่งการเรียนรู้ กับความยึดมั่นผูกพันในงาน 4) ศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันในงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารระดับกลางของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 150 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดภาวะผู้นำ แบบวัดองค์การแห่งการเรียนรู้ และแบบวัดความยึดมั่นผูกพันในงาน มีการหาคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่าความเที่ยงตรง ค่าความเชื่อมั่น และค่าอำนาจจำแนก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำอยู่ในระดับสูง ระดับองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง และระดับความยึดมั่นผูกพันในงานอยู่ในระดับสูง 2) เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอายุงานในองค์การที่แตกต่างกันมีความยึดมั่นผูกพันในงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ภาวะผู้นำ และองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .698 และ .604 ตามลำดับ และ 4) ภาวะผู้นำและองค์การแห่งการเรียนรู้สามารถร่วมกันพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันในงานได้ร้อยละ 57.2

           คำสำคัญ : ภาวะผู้นำ,  องค์การแห่งการเรียนรู้,  ความยึดมั่นผูกพันในงาน


Abstract

          The objectives of this research were to 1) study personal factors, the levels of leadership, learning organization and work engagement of managers working in the organization registered in
The Stock Exchange of Thailand 2) study comparison of work engagement of managers who have different personal factors 3) study the relationship between leadership, learning organization and work engagement 4) study predictors that can explain work engagement. The sample consisted of 150 managers working in the organization registered in The Stock Exchange of Thailand (SET). Data were collected using leadership questionnaire, organization questionnaire and work engagement questionnaire. Item discrimination power, reliability and validity were tested on each measures revealing the psychometrically sound properties. The statistics used in analyzing data were percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, one-way ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression analysis. The results found that 1) the managers possessed high levels of leadership, learning organization and work engagement 2) in the difference personal factors, gender, age, education level, work period in the organization of managers were not statistical significant different level on work engagement 3) leadership and learning organization had statistical significant with work engagement of managers at .01 level of significance. (r = .698 and .604 respectively) and 5) leadership and learning organization could significantly predict 57.2% of work engagement of managers at .01 level of significance.



           Keywords: Leadership,  Learning organization,  Work engagement