อคติต่อชนชาติในการนำเสนอข่าวกรณีแรงงานพม่าในประเทศไทยของสื่อมวลชนและทัศนคติของคนไทยต่อแรงงานพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร
 Prejudice in Thai Media Coverages toward Burmese Labor and Thai Stereotype toward Burmese Labor in Samutsakorn
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิจิตรา สึคาโมโต้ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ
          ในยุคโลกาภิวัตน์ที่การเดินทางข้ามรัฐชาติเป็นเรื่องง่ายดายด้วยราคาการเดินทางที่ถูกลงและความสะดวกสบายที่มีมากขึ้น การเดินทางย้ายถิ่นฐานและแสวงหาแหล่งงานในต่างประเทศได้กลายเป็นเรื่องปกติของคนยุคปัจจุบันทั้งในกลุ่มแรงงานทักษะสูงและผู้ใช้แรงงานระดับล่าง อันถือเป็นปรากฏการณ์ของการสร้างภาคประชาสังคมโลกที่ทำให้ผู้คนได้ผสมผสานกลมกลืนข้ามวัฒนธรรมและรัฐชาติได้อย่างแนบเนียน ทั้งนี้ในส่วนของพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาคมอาเซียนที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 – 2000 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบแรงงานในภูมิภาคอย่างสิ้นเชิง โดยประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนความต้องการแรงงานต่างชาติที่เข้มข้นจากแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานภายในประเทศ ทั้งนี้ด้วยสถานะของการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งยังคงต้องพึ่งพิงแรงงานระดับล่างค่อนข้างสูง ทำให้ประเทศไทยคือแหล่งรองรับแรงงานเพื่อนบ้านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยแรงงานเพื่อนบ้านเหล่านั้นหลายคนได้ตั้งถิ่นฐานในไทย พร้อมกับได้แปลงเป็นพลเมืองสัญชาติไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากการเข้ามาอาศัยและพำนักพักพิงในประเทศไทยของแรงงานเพื่อนบ้านเหล่านี้อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งและความเกลียดชังภายในพื้นที่ระหว่างแรงงานข้ามชาติและพลเมืองไทย โดยเฉพาะกรณีของการเบียดบังการใช้บริการสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือโรงเรียน ทั้งนี้บทความวิจัยชิ้นนี้ได้ลงศึกษาทั้งในส่วนของทัศนคติและมุมมองของสื่อมวลชนไทยที่มีต่อแรงงานต่างชาติชาวพม่า เพื่อเป็นฐานในการลงพื้นที่ศึกษาสภาพความเป็นจริงจากทัศนคติของคนในพื้นที่ โดยเน้นไปที่เขตเทศบาลเมืองมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีแรงงานเพื่อนบ้านชาวพม่ากระจุกตัวอยู่เยอะที่สุด ด้วยการศึกษาผ่านเนื้อหาสื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ไทย รวมไปถึงการสนทนากลุ่มเพื่อเสาะแสวงหาข้อมูลของผู้คนในพื้นที่เมืองมหาชัย ซึ่งต้องอยู่ร่วมกับกลุ่มแรงงานเพื่อนบ้าน อันจะนำมาซึ่งข้อมูลที่นำไปสู่การวิเคราะห์การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังในอันที่จะได้ข้อมูลไปสู่การศึกษาในเชิงลึกถึงความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนอันจะนำไปสู่การจัดทำแผนและนโยบายภาครัฐเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนต่อไป

           คำสำคัญ : ความขัดแย้งเชิงชนชาติ, คนไทย-แรงงานพม่า, การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง


Abstract

           In the Globalizing world where ethnoscape has been operating, human beings flow around the world easier, cheaper and freer. Bothwhite and blue collar workers are seeking better placesto work and establish their lives. An idea of "global civil society" seems to be realistic. In the ASEAN community, the socio-economic restructuring that took place between the 1990s and the2000s has created the transformation of labors. Thailand is one of illuminating examples where foreigners cover domestic labor demand. Thailand,as a middle-income country, regards labor incentive as a significant component of its industrial development, and demands a large number of labors. The number of laborsmigrated from neighboring countriesinto Thailand have, thus, been increased from the 1990s and some of them have sattled down in Thailand as Thai citizens. Those foreign labors and their families use local public facilities and sevices such as education and healthcare without paying taxes, which will cover necessary expenses to maintain and run those facilities and services. This paper examinesdisembedding and distanciation phenomenon by looking throughthe case of Burmese who have reallocated themselves into Thailand. This paperwill apply content analysis methodology to examine stereotypes of Thai media toward Burmese labor in Thailand. In addition, the research will construct the questionnaire and focus group to local people in Mahachai city, a seaside city near Bangkok where Burmese share a huge number of population. Conflictsand hatred between Thais and Burmese in this city have gradually emerged and now there is fickle ethnic tension between Thais and Burmese. They share local places and facilities but refused to mutually understand their cultures and identities.The rejection and alienization of local people promoted by Thais against Burmese happened in various levels of everyday lives. Such rejections and alienization can be witnessed in the cases of issuing state regulationsand of developing local culture.

           Keywords: Ethnic conflict, Thai citizen – Burmese labor, Hate speech