วารสาร HRintelligence ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2552

 การประเมินประสิทธิผลของการส่งเสริมกรวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
  Evaluation on Efficacy of Thai Science and Technology Research and Development Promotion

  สมชาย สุขสิริเสรีกุล

บทคัดย่อ
          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายของการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของหน่วยธุรกิจ การเพิ่มศักยภาพและความสามารถของบุคลากรของหน่วยงานธุรกิจเพื่อโอกาสที่จะประสบความสำเร็จที่สูงขึ้นในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการนำผลการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างประโยชน์ให้กับภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยใช้แบบจำลองที่วิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยทดสอบกับสถานประกอบการที่ให้ข้อมูลที่ต้องการจำนวน 141 แห่ง
          ผลการวิเคราะห์แบบจำลองค่าใช้จ่ายของการวิจัยและพัฒนาด้านวิจัยและเทคโนโลยีระบุว่า การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายสำหรับการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถานประกอบการแปรผกผันกับสัดส่วนค่าใช้จ่ายของปัจจัยการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถานประกอบการ ผลการวิเคราะห์ความสามารถและศักยภาพของบุคลากรในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชี้ให้เห็นว่า ความสามารถแลศักยภาพของบุคลากรในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถานประกอบการแปรผันโดยตรงกับสัดส่วนของจำนวนบุคลากรที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทียบกับจำนวนบุคลากรทั้งหมดของสถานประกอบการ ผลการวิเคราะห์แบบจำลองการเพิ่มผลกระทบภายนอกที่พึงประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพบว่า ผลกระทบภายนอกที่พึงประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระจายไปสู่สถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ลักษณะบางประการของภาคอุตสาหกรรมไม่ได้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมหนึ่งได้รับผลประโยชน์แบบนี้มากกว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น

Abstract
            The study aims at analyzing expenditures of the science and technology research and development of business firms. It also evaluates whether or not an increase in the potential and ability of employees in business firms enhances the opportunity of succeeding in science and technology research and development. Moreover, it determines to what extent the results of their science and technology research and development is beneficial to an industry as a whole. Economic models are constructed and tested by the multiple regression analysis and the logistic regression analysis techniques. Data from 141 business firms, which were willing to collaborate and provide information, were collected and analyzed.
            The findings show that a change in expenditures of the science and technology research and development of business firms varies directly with the ratio of expenditures of major components of science and technology research and development to the total expentitures of the science and technology research and development. The accomplishment of undertaking science and technology research and development of business firms depends significantly on the proportion of staffs doing science and technology research and development to all the staffs available in the firms. Desirable spill-over effects of the science and technology research and development of a firm is spread evenly to other firms within an industry. It is apparent that no factors pertaining to industries under consideration cause desirable external effects gained by one industry more than the others.