วารสาร HRintelligence ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2551

  การติดตามและปรเมินผลการพัฒนาข้าราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (HRD e-Learning)
  Monitoring and Evaluation on HRD e-Learning of Office of Civil Service Commission

  กมลพร สอนศรี

บทคัดย่อ
          การติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาข้าราชการผ่านสื่ออิเล็กทรนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจประสิทธิภาพและประสิทธิผลโครงการพัฒนาข้าราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงาน ก.พ. โดยมีกรอบในการประเนผล 5 ด้าน คือ 1) การประเมินผลในส่วนของสภาวะแวดล้อม 2) การประเมินผลในส่วนของปัจจัยนำเข้า 3) การประเมินผลในส่วนของกระบวนการ 4) การประเมินผลในส่วนของผลผลิต 5) การประเนผลในส่วนของผลลัพธ์
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ที่ได้รับการพัฒนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2551 จำนวน 558 คน 2) กลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เลิกเรียนกลางคัน (drop out) จำนวน 334 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
          ผลการศึกษาด้านบริบท/สภาวะแวดล้อม พบว่าการพัฒนาข้าราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (HRD e-Learning) ของสำนักงาน ก.พ. มีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานราชการต่างๆ อุปสรรคหรือข้อจำกัดที่สำคัญในการอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประการหลัก คือ 1) ด้านระยะเวลาที่เปิดหลักสูตรไม่ตรงกับเวลาว่าง 2) ความไม่พร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน 3) ขาดกรสนับสนุนจากหน่วยงานในการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผลการศึกษาในด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ พบว่า ระดับความคาดหวังกับสภาพที่เป็นจริงในการพัฒนาข้าราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (HRD e-Learning) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยระดับความคาดหวังของผู้เข้ารับการอบรมออนไลน์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพที่เป็นจริงในทุกด้าน ในส่วนของความพึงพอใจของผู้เข้ารับการพัฒนาข้าราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยทุกประเด็นอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่ผู้เข้ารับการพัฒนาข้าราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน นอกจากนั้น ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการพัฒนาข้าราชการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั่นคือ ความตั้งใจในการพัฒนาตัวเอง การสนับสนุนจากหน่วยงาน/ผู้บังคับบัญชา ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์และเครือข่ายของผู้เข้ารับการอบรม
          ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้มี 7 ประการ คือ 1) สำนักงาน ก.พ. ควรเพิ่มจำนวนหักสูตรให้มีความหลากหลายโดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพิ่มจำนวนรุ่นให้มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมออนไลน์ 2) สำนักงาน ก.พ. ควรดำเนินการประชาสัมพันธ์หลักสูตรใหม่ โดยผ่านการกระจายข่าว จดหมายเวียน และ Website ไปยังหน่วยงานต่างๆ อย่างทั่วถึงเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและข้าราชการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเอง 3) สำนักงาน ก.พ. ควรขยายเวลาการเปิดรับสมัครในแต่ละหลักสูตรให้มาขึ้น 4) สำนักงาน ก.พ. ควรจัดเตรียมเอกสารให้ผู้เข้ารับการอบรมออนไลน์สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ 5) ผู้ดำเนินการจัดหลักสูตรควรมีการตรวจสอบระบบและ Website ของสำนักงาน ก.พ. อย่างสม่ำเสมอ 6) สำนักงาน ก.พ. ควรปรับปรุงเนื้อหาให้กระชับ และมีความเหมาะสมกับหลักสูตร 7) หน่วยงานต้นสังกัดและผู้บังคับบัญชาควรสำรวจความต้องการของข้าราชการในหน่วยงานเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และควรมีมาตรการในการสนับสนุนการพัฒนาตนเองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นรูปธรรม

Abstract
            The purpose of monitoring and evaluation on HRD e-learning project is to survey HRD e-Learning effectiveness and efficiency of Office of Civil Service Commission (OCSC). The conceptual framework consists of 5 aspects which are 1) context evaluation 2) input evaluation 3) process evaluation 4) output evaluation and 5) outcome evaluation
            Sample sizes in this study are divided into 2 groups: 1) 558 civil servants and government officials who have been trained through HRD e-Learning, 2) 334 civil servants and government officials who had dropped out. Survey questionnaires are used as a research instrument. Statistics for data analysis of this research are Frequency, Percentages, Means, Standard Deviations, T-test, and One-way ANOVA.
            According to the results in the aspect of context, it is found out that HRD e-Learning align with government’s policies. The major obstacles of HRD e-Learning trainees are as follows: 1) time is not available for them when curriculum offered, 2) computers, equipments and network are not ready, out of date, and insufficient, 3) the lacking of support from the offices and their supervisors in self-development. Regarding to the results in the aspects of input, process, and outcome, it is found out that the level of expectation and current status of HRD e-Learning are significantly different at 0.05 and the expectation level of HRD e-Learning trainees is higher than currently status level in all aspects. The satisfaction level of HRD e-Learning trainees is high in all issues but the most satisfaction issue is the application to their jobs. Key success factors in HRD e-Learning are the serious intention in self-development, supports from their supervisors and government offices, and the readiness of computers and network for HRD e-Learning trainees.
            The suggestions of this research are as follows: 1) OCSC should offer different curriculum that align with the current situation and add more classes in order to respond to the needs of HRD e-Learning trainees, 2) OCSC should conduct public relation of the new curriculums through broadcasting, cirulating, and through website throughout government offices in order to make supervisors and civil servants realize in self-development, 3) OCSC should expand different period of each curriculum offered, 4) OCSC should prepare the content in each curriculum as a document for trainees to download through website, 5) the operator of curriculum should check the system and OCSC Website regularly, 6) OCSC should adjust the content to fit well with the curriculum, 7) Government agencies and their supervisors should survey self-development needs of their civil servants and should have tangible policy to support self development through e-Learning.