วารสาร HRintelligence ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2550

  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองพนักงานของบริษัทผลิตน้ำมันพืช
  Factors Influencing Self-Directed Learning Readiness Employees of Vegetable Oil Factor

  สุภัสทรา สันติวัฒนา

บทคัดย่อ
          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองในองค์กร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ความ สนับสนุนจากองค์การ กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานของบริษัทผลิตน้ำมันพืชแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบตรวจรายการเลือกตอบ และแบบมาตราส่วนประเมินค่า ข้อมูลที่ได้รับการตรวจแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานส่วนใหญ่มีคะแนนความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับปานกลาง 2) พนักงานที่มีตำแหน่งงานและการศึกษาต่างกันมีความพร้อมในกรเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การรับรู้ภาวะผู้นำต่างกันส่งผลให้พนักงานมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การรับรู้ความสามารถตนเอง มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) การรับรู้ความสนับสนุนจากองค์กร มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) อายุงาน การรับรู้ความสามารถตนเอง และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 61.6 ของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเรื่องของการรับรู้ความสามารถตนเอง สามารถทำนายความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีที่สุด รองลงมาคือ การรับรู้ความสนับสนุนจากองค์กร และอายุงาน ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract
          The main objectives of this research are: 1) to study employees’ Self-Directed Learning Readiness within an organization, 2) to study the relationships among self-efficacy perceived, organizational support perceived, and Self-Directed Learning Readiness, 3) to study the relation between Leadership Perception and Self-Directed Learning Readiness and 4) to investigate individual’s personal factors that have effects on Self-Directed Learning Readiness. The sampling group consists of 140 employees of a vegetable oil factory. The research tool is a set of questionnaires in both checklist and rating scale formats. The collected data were analyzed by a computer application. Statistics results include percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation, and multiple linear regression analysis.
          The research results can be summarized as follows: 1) A majority of employees’ scores on Self-Directed Learning Readiness fell in the mid-range level. 2) Job position and educational background correlated to Self-Directed Learning Readiness at a statistical significance level of .05. 3) Leadership perception correlated to Self-Directed Learning Readiness at a statistical significance level of .05. 4) Self-efficacy perception correlates to Self-Directed Learning Readiness at a statistical significance level of .05. 5) Perceived on organization of work experience, self-efficacy perceived and organizational support perceived explained 61.6 percent of the variation of employees’ Self-Learning Readiness. Of which, at a statistical significance level of .05, self-efficacy Perceived was the best factor to predict Self-Directed Learning Readiness. The following factors were organizational support perceived and work experience, respectively at .05 level of statistical significance.